คุ้มกันสำเร็จรูป

สธ. เปิดเผยข้อมูล การรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ด้วยภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป

กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผย เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เกี่ยวกับการรักษา ผู้ป่วยอายุ 105 ปี ที่ติดโรคโควิด-19 โดยการรักษาด้วย ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (Long Acting Antibody: LAAB) จนหายจากภาวะโควิด ถึงแม้ว่า จะไม่เคยมีประวัติการได้รับวัคซีนมาก่อนก็ตาม ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาเปิดเผยว่า การรักษา แบบภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปนั้น เป็นที่ยอมรับ และได้ขึ้นทะเบียนแล้วใน สหภาพยุโรปและประเทศญี่ปุ่น

ในส่วนของแระเทศเรานั้น กำลังอยู่ในขั้นตอน การยื่นเอกสารลงทะเบียน เพื่นำไปใช้ในการรักษา เพิ่มจากการป้องกัน ก่อนติดเชื้อแล้ว ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ได้เริ่มนำไปฉีดให้แก่ ผู้มีะร่างกายไม่สามารถ สร้างภูมิคุ้มกันได้ด้วยวัคซีน และกลุ่มผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ โดยใช้ยี่ห้อ Evusheld โดยฉีดไปแล้วกว่า 3,400 ราย

เพื่อปกป้องกลุ่มเปราะบาง ก่อนการสัมผัสเชื้อ โดยทางสธ. ได้เริ่มมีการฉีดครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2565 ที่สถาบันบำราศนราดูร ให้กับผู้ป่วยที่มีอาการไตวายเรื้อรัง ผู้ที่ได้รับการฟอกไต และเริ่มส่งไปฉีด ยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. ที่ผ่านมา

คุ้มกันสำเร็จรูป

เมื่อวันที่ 18 ก.ย. นพ. โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค

ระบุว่า ผู้ป่วยรายดังกล่าวมาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งเมื่อต้นเดือน ก.ย. โดยมีอาการไข้สูง มีเสมหะ ค่าออกซิเจนในเลือดต่ำ และต่อมามีปอดติดเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในวันแรก แต่เนื่องจากมีอายุมากเสี่ยงต่อการเสียชีวิต แพทย์จึงพิจารณาให้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) แก่ผู้ป่วยด้วยในวันที่ 4 ก.ย. ร่วมกับยาปฏิชีวนะ

นพ. โอภาสระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 10 ก.ย. อาการผู้ป่วยค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ อาการปอดติดเชื้อน้อยลง ไข้ลง ค่าออกซิเจนในเลือดกลับมาปกติ และผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้วันที่ 14 ก.ย. รวมระยะเวลาที่ใช้รักษาน้อยกว่า 2 สัปดาห์ โดยการให้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป น่าจะมีผลดีในการรักษาผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน

ความคืบหน้าล่าสุดวันนี้ (21 ก.ย.) นพ. โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยผลวิจัยการใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) ยี่ห้อ Evusheld ในผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางและรักษาแบบผู้ป่วยนอก ในสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น พบว่าการให้เร็วใน 3 วัน ช่วยลดการเกิดอาการรุนแรงและเสียชีวิตถึง 88%

ส่วนการรักษากลุ่มผู้ป่วยในที่มีอาการไม่เกิน 12 วัน ช่วยลดอัตราเสียชีวิต 30% รองอธิบดีกรมควบคุมโรค บอกด้วยว่า กระทรวงสาธารณสุขแรงงานและสวัสดิการญี่ปุ่น อนุมัติให้ใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปยี่ห้อ Evusheld เพื่อการรักษาผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปในกลุ่มที่มีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรงจากการติดโควิด-19 ในวันที่ 30 ส.ค.

นอกจากนี้ วันที่ 20 ก.ย. 2565 สำนักงานการแพทย์ยุโรป (European Medicines Agency–EMA) อนุมัติให้ Evusheld ใช้ในการรักษาผู้โควิด 19 ที่เริ่มมีอาการในระยะแรก ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรง “ส่วนประเทศไทยกำลังจะยื่นเอกสารขออนุญาตขึ้นทะเบียนภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป Evusheld เพื่อใช้รักษาผู้ป่วยโควิด 19 ที่เพิ่งติดเชื้อในระยะแรกและมีความเสี่ยงสูงตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์” นพ. โสภณ กล่าว

ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) เหมาะกับผู้ป่วยแบบไหน บีบีซีไทยรวบรวมข้อมูลการใช้จากกระทรวงสาธารณสุข มาได้ดังนี้

ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) ทำงานอย่างไร กรมควบคุมโรค ให้ข้อมูลว่า ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) สามารถออกฤทธิ์ลบล้างเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ทั้งสายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์กลายพันธุ์หลายตัว การทำงานของภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ในผู้ที่ตอบสนองต่อวัคซีนได้น้อยกว่าคนทั่วไป เมื่อฉีดเข้าไปแล้วร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโควิดได้สูงทันทีภายหลังฉีด

ทำให้เกิดประโยชน์อย่างมาก ในการลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว ซึ่งในต่างประเทศมีการขึ้นทะเบียนใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปในการรักษาผู้ป่วยโควิดกลุ่มเปราะบางที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วย เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น ใช้กับกลุ่มไหน นพ. โสภณ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่าสำหรับคนไทยกลุ่มที่ได้รับการฉีดไปแล้ว 3,400 คน

กลุ่มเป้าหมายระยะแรก ได้แก่ ผู้ป่วยไตวายระยะเรื้อรัง ที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต (ฟอกไต) ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ และผู้ป่วยปลูกถ่ายไขกระดูก โดยสามารถปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการพิจารณาในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิดด้วย LAAB หรือสามารถติดต่อเข้ารับการฉีดได้ที่สถานพยาบาล

แล้วกลุ่มใดที่จะได้รับภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปเป็นกลุ่มถัดไป รองอธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่า ขณะนี้ กำลังพิจารณาเพิ่มกลุ่มเป้าหมายที่จำเป็นต้องได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันด้วย LAAB เช่น ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดและฉายแสง ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะที่ต้องได้รับยากดภูมิขนาดสูง ผู้ป่วยโรคข้อที่ต้องรักษาด้วยยากดภูมิ

และผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำโรคอื่น ๆ ขณะนี้ สธ. กำลังอยู่ระหว่างให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด สำรวจจำนวนผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ ในสถานพยาบาลทุกสังกัด เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับภูมิคุ้มกันจาก LAAB อย่างทั่วถึง

ผลการใช้ในต่างประเทศเป็นอย่างไร

สำหรับการนำมาใช้หลังรับเชื้อโควิด 19 ล่าสุด มีการศึกษาวิจัยโครงการ TACKLE Phase 3 ที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจที่ชื่อว่า “แลนเซ็ต” (The Lancet Respiratory Medicine) ออกมาแสดงผลการศึกษา LAAB ยี่ห้อ Evusheld ขนาด 600 มิลลิกรัม ฉีดในผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก

และมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต จำนวน 910 ราย ในสถานพยาบาล 95 แห่งในประเทศสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น พบว่า การให้ภายใน 7 วันหลังมีอาการ สามารถลดการเกิดโรครุนแรงหรือเสียชีวิตได้ 50% เมื่อเปรียบเทียบกับการให้ยาหลอก หากให้ยาเร็วขึ้นอีกภายใน 5 วันและ 3 วันหลังมีอาการ จะลดการเกิดโรครุนแรงหรือเสียชีวิตได้ 67% และ 88% ตามลำดับ

นอกจากนี้ จากการศึกษาวิจัยแบบสุ่มที่มีการควบคุม (RCT) พบว่า การให้ Evusheld ขนาด 600 มิลลิกรัม ในการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลและมีอาการมาไม่เกิน 12 วัน จำนวน 1,417 ราย จากสถานพยาบาล 81 แห่งในประเทศสหรัฐฯ ยุโรป อูกันดา และสิงคโปร์ พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยา Evusheld มีอัตราการเสียชีวิตลดลง 30% ซึ่งแสดงถึงผลดีของภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปยี่ห้อ Evusheld ที่ใช้รักษาผู้ป่วยโควิด

สำหรับภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) ยี่ห้อ Evusheld พัฒนาโดยบริษัทแอสตราเซนเนก้า เป็นภูมิคุ้มกันออกฤทธิ์ยาวที่ผสมตัวยา LAAB 2 ชนิด ซึ่งมาจากบีเซลล์ที่ได้รับการบริจาคจากผู้ที่เคยป่วยจากโควิด-19 ซึ่งถูกค้นพบโดยศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิวท์ และได้อนุญาตให้แอสตราเซนเนก้านำมาพัฒนาต่อเมื่อเดือน มิ.ย. ปี 2563

ขอบคุณ แหล่งที่มา : BBC.com

สามารถอัพเดต ข่าวสารเรื่องราวต่างๆ ได้ที่ : garrisonsatlanta.com